วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
1. Book start     โครงการหนังสือเล่มแรก
2. Picture book  ➝  หนังสือภาพ
3. Mother and Child Clinic  ➝  คลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
4. Almoner  ➝  นักสังคมสงเคราะห์
5. Early Childhood Center  ➝  ศูนย์เด็กปฐมวัย
6. Baby Health Center  ➝  ศูนย์สุขภาพเด็ก
7. Correct behavior  ➝  แก้ไขพฤติกรรม
8. Initial health checkup  ➝  การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
9. Parents as Teachers Program  ➝  โครงการพ่อแม่ในฐานะครู
10. Participation of parents  ➝  การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ 



ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับ ให้ความสำคัญกับการ
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน 
โรงเรียน ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน "


โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
1.โครงการแม่สอนลูก
       โครงการที่กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส ให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิด โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านในประเทศอิสราเอล เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
2.โครงการแม่สอนลูก
       ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา 
การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา และบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ วิธีกระบวนการเรียนรู้ วิธีการสนทนากลุ่ม วิธีการอภิปรายกลุ่ม และวิธีการบรรยายกลุ่ม 

3.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
       ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
1.แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
2.คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3.หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
4.ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
5.จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
4.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
      ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด เพื่อการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน ให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด โดยประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ  
1.ผ่านโทรทัศน์  2.ผ่านสื่อวิทยุ  3.สื่อสิ่งพิมพ์ 4.กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

5.โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)
      เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน และประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัว

6.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
      ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน โดยมีกิจกรรมดังนี้
- ให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก 
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
      ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม พร.พระมงกุฎเกล้า ได้เปิด “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์   โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 



✌ โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
       มีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล 
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน  
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
   -สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก เสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
  -จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูก สร้างเกมการเล่นกับลูก
  -ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
        ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก รวมถึงสติปัญญา อารมณ์และสังคม  สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนเป็นสื่อ  รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี 
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
         จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนอสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
5.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
        เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1930  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

        
         กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ  1. ความพร้อมที่จะเรียน   2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 



6.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่    มีวัตถุประสงค์ คือ
ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก  ช่วยเหลือการเรียนของเด็ก ติดต่อสื่อสารระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน 
7.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
          พัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย มีวัตถุประสงค์ สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชน
8.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program) 
          เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
9.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
        สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
10.โครงการ Brooklyne Early Childhood
        เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก  ดำเนินการโดย Brooklyne  Public School โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ และยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
11.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
        ให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน  
12.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
        เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
13.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
         โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐมวัย และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสารและนิทรรศการต่างๆ 
14.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
        ให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ เข้าใจพัฒนาการของ เด็กก่อนเกิด /เกิด /ถึง 3ขวบ เช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ การจัดสภาพแวดล้อม การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
15.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
       ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5ปี จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา

16.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
        ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ  เป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและพัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ ถุงบุ๊คสตาร์ท”


ถุงบุ๊คสตาร์ท 


ประกอบด้วย...
1.หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
2.หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
3.ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
4.แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
5.บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
6.รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
7.รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

17.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
        ได้เข้ามาในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุง  บุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว 


สรุป จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 





"คำถามท้ายบท"
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษากับเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กให้มีความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนโดยมีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคม

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ถึงบ้าน ครอบครัวเด็ก 
ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง 

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กมา5เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
ตอบ  1. สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แนะนำสื่อที่เหมาะสมกับช่วงวัยเด็กและได้พัฒนาการหลากหลาย เช่น หุ่น ตุ๊กตา เกมต่างๆ หนังสือเพลง นิทาน เป็นต้น
     2.อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก แนะนำวิธีการทำอาหารเด็กที่ง่ายๆในชีวิตประจำวัน และสามารถดึงดูดเด็กได้ เช่น เมนูอาหารที่เด็กชื่นชอบและมีประโยชน์ ( ข้าวผัดรวมมิตร ข้าวกล่องหรรษา คุ๊กกี้ ไอศกรีมผัก )
          3.การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก วิธีเลือกให้เหมาะสมกับวัย และใช้งานได้นาน ปลอดภัย เช่น ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ ฝึกสมอง ได้แก่ ไม้บล็อก เลโก้ หรือเด็กที่อายุ 1- 2 ขวบ ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ เช่น ของเล่นประเภทดัน ลากจูง และจับทุบตีให้มีเสียงของเล่นระนาดเล็กเสียงใส กลองที่มีเสียงต่างๆ ช่วยให้มีการเชี่ยมโยงสายตา กล้ามเนื้อมือ 
          4.เทคนิคการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย แนะนำการสังเกตุ รับมือ และปรับแก้ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมขี้อาย หรือกลัว 
          5.สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก วิธีดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก เช่น การดูแลครรภ์ การให้นมลูก เป็นต้น

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ส่งผลอย่างมาก เพราะผู้ปกครองจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาเด็กได้อย่างถูกวิธี ส่งเสริมเด็กด้านต่างๆได้ เข้าใจเด็กมากขึ้น และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ติดตามโดยการสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้ปกครอง และจากการประชุมผู้ปกครอง การพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน



➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
    เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

Evalaute frieads (เพื่อน)
     เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

Evalaute teacher (อาจารย์) 
     อาจารย์สอนได้ละเอียด และเปิดตัวอย่าง วิดีโอ ให้ดูประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น


 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

 อาจารย์ได้งดการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ไม่สบายกระทันหัน จึงทำให้ไม่สามารถมาสอนได้ และได้มอบหมายให้นักศึกษา ดูและอ่าน PPT. ในเรื่องที่จะเรียนไปก่อน
และมาเรียนตามปกติในสัปดาห์ถัดไป