วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่จัดทำโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแต่ละกลุ่ม มาปรึกษาและพูดคุยเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินงาน การวางแผนการทำงานของแต่ละกลุ่มว่าเป็นไปอย่างไร 
      หลายกลุ่มมีความคืบหน้าไปได้ดี และเห็นถึงความสามัคคีในการทำงานของแต่ละกลุ่ม

 



กลุ่มของดิฉันได้นำรายละเอียดคร่าวๆ ของโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครอง 
เรื่อง สื่อสร้างฝันแบ่งปันรอยยิ้ม  และกำหนดการเสนอให้อาจารย์ดูและขอคำแนะนำต่างๆ ซึ่งอาจารย์ได้ดูและช่วยปรับแก้เอกสาร ให้คำแนะนำการจัดทำโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้



คำแนะนำจากอาจารย์
💛 จัดหาของชำร่วยที่จะมอบให้แก่ผู้ปกครองและคณะครูที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่
💛 การตั้งงบประมาณในการจัดสรรพวกวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน สามารถเพิ่มลดได้ในรายละเอียด
💛 ปรับแก้รายละเอียดในโครงการบางประการ และกำหนดการให้ชัดเจน
💛 จัดทำแผ่นพับที่ให้ความรู้ให้น่าสนใจ มีภาพประกอบ เน้นเนื้อหาสั้นกระชับเข้าใจง่ายสีสันสวยงาม 
💛 ปรับแก้การใช้คำพูดหรือตัวหนังสือให้สื่อถึงผู้ปกครองกับเด็กมากขึ้น
💛 เรื่องเวลาในการจัดกิจกรรมให้มีความพอเหมาะกับแต่ละกิจกรรม


ภาพกิจกรรมเบื้องหลังการทำงาน





สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันทำอุปกรณ์ ประดิษฐ์สื่อ จัดทำบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และเตรียมงานเอกสารต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในวันนำเสนอโครงการ 31 ตุลาคม 2562 
และจัดโครงการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562

➤ Assessment การประเมิน
Self-assessment (ตนเอง)
        แต่งกายสุภาพเรียบร้อยในเวลาเรียน ช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ ปรึกษาอาจารย์และเพื่อนๆ  ได้ทำสื่อที่จะนำไปจัดกิจกรรมเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ

Evalaute frieads (เพื่อน)
       มีความร่วมมือสามัคคีกัน ช่วยกันทำงาน มีความเข้าใจในงานที่แบ่งหน้าที่กันทำ

Evalaute teacher (อาจารย์) 
       ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาโครงการ 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดี ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ




       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มมาปรึกษาเกี่ยวกับการจัดโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง พูดคุยถึงปัญหาการทำงาน  ความคืบหน้าของเอกสารและการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับแต่ละกลุ่ม แจกอุปกรณ์ให้กับกลุ่มที่ขาดเหลือในการนำไปใช้ทำบอร์ด และให้นักศึกษาสามารถใช้เวลาว่างในการเตรียมงานในห้องเรียน 


  กลุ่มดิฉัน ทำโครงการสื่อสร้างฝันแบ่งปันรอยยิ้ม ได้บอกความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงาน และจะนำกำหนดการ รายละเอียดโครงการมานำเสนอในครั้งถัดไป


อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดโครงการของกลุ่มดิฉันดังนี้ 
💗  การเลือกสื่อให้เหมาะสมและน่าสนใจในการสาธิต 
💗 ควรบริหารเวลาในการทำงานต่างๆ ให้ลงตัว แบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน 
💗 การประสานงาน และติดต่อกับศูนย์เด็กอย่างต่อเนื่อง เรื่องวันเวลา การจัดเตรียมสถานที่
 และอาหารว่างในการเลี้ยงต้อนรับผู้ปกครอง


สมาชิกภายในกลุ่มปรึกษาหารือกัน ในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน และวางแผนนัดหมายกันทำงาน ช่วยกันสืบค้นเนื้อหาในการจัดทำบอร์ด และเลือกสื่อที่สร้างสรรค์เพื่อนำเสนออาจารย์

➤ Assessment การประเมิน
Self-assessment (ตนเอง)
        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ปรึกษาและฟังคำแนะนำของอาจารย์ ช่วยหาสื่อที่น่าสนใจ วางแผนการทำงานกัน มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

Evalaute frieads (เพื่อน)
         มีส่วนร่วมในการวางแผนกันทำงาน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ และช่วยกันสืบค้นข้อมูลอย่างเต็มที่

Evalaute teacher (อาจารย์) 
        อาจารย์ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาในการทำงานให้อย่างดี เป็นกันเอง ติดตามงานของนักศึกษาทุกกลุ่ม และช่วยเสนอแนะความคิดใหม่ๆ ให้กับนักศึกษานำไปใช้ในการจัดโครงการ

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

    
    ▶️ วันนี้อาจารย์ได้ถามถึงความคืบหน้าของการจัดทำโครงการของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม อาจารย์ถามถึงปัญหาหรือข้อที่ควรแก้ไขของการดำเนินโครงการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม และแนะนำเกี่ยวกับโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้นักศึกษาดำเนินงานต่างๆ ได้โดยราบรื่น และเสร็จให้ทันภาพในเวลาที่ได้กำหนดไว้  

    ▶️  หลังจากนั้นอาจารย์แจกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในส่วนของการทำป้ายนิเทศน์หรือนิทรรศการ ให้กับนักศึกษาทุกกลุ่ม



การทำงานที่มีการวางแผน ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มีการร่วมมือกัน ย่อมนำพาให้งานประสบความสำเร็จ



➤ Assessment การประเมิน
Self-assessment (ตนเอง)
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์ให้คำแนะนำ ช่วยกันคิดเรื่องการทำงานว่าจะแบ่งเวลาอย่างไร 

Evalaute frieads (เพื่อน)
       มีการปรึกษาอาจารย์เกี่ยวกับโครงการ 

Evalaute teacher (อาจารย์) 
        ให้ความสนใจนักศึกษา แนะนำเกี่ยวกับโครงการให้กับนักศึกษาทุกกลุ่ม ถามความคืบหน้า ช่วยดูการทำงานให้นักศึกษาทำได้อย่างสำเร็จลุล่วง


วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
     อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิจัย ก่อนนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับผู้ปกครอง มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

▶️  กลุ่มที่ 1  สมาชิก


1.นางสาววิภาพร จิตอำคะ 
    2.นำงสาวขนิษฐา สมานมิตร 
3.นางสาววสุธิดา คชชา 
4.นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ
5.นางสาววิจิตรา ปาคำ


นำเสนอวิจัยเรื่อง  การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับ ลูกปลูกภาษา” อารีย์ คำสังฆะ  หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ตุลาคม 2554

💗 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านภาษาและเพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษา
ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา

💗 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองและแนวทางสำหรับครูในการให้ความรู้ผู้ปกครอง

💗 ขอบเขตของการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชายหญิงอายุ 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดินแขวงแสนแสบ สังกัดกรุงเทพ ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยจับฉลากมา1ห้องเรียน

💗 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกปัญญา
ตัวแปรตาม ความเข้าใจภาษา

💗 สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษาโดยผู้ปกครองมีความเข้าใจภาษาหลังทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม

💗 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมการเล่นกับลูกปลูกภาษา
2. แบบวัดความเข้าใจทางภาษาเด็กปฐมวัย
3. แบบวิเคราะห์ความเข้าใจภาษาเด็กปฐมวัย

💗 สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษามีพัฒนาการความเข้าใจภาษาโดยรวมสูงขึ้นร้อยละ 53.5 72 ของความสามารถพื้นฐานเดิม
2. เด็กปฐมวัยมีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจำแนกรายด้านคือการใช้คำอย่างมีจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ตัวอย่างชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา





 ▶️  กลุ่มที่ 2  สมาชิก
1.นายปฏิภาณ   จินดาดวง 
2. นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน
3. นางสาวจีรนันท์   ไชยชาย
4. นางสาวปิยธิดา   ประเสริฐสังข์ 
5. นางสาวปริชดา   นิราศรพจรัส


นำเสนอวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาปีที่ทำวิจัย  พ.ศ.2557
ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญไท  เจริญผล นางสาวภัทราวรรณ  จันทร์เนตร์ นางสาวภรภัทร  นิยมชัย


💗 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย และเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

💗 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย และเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอื่นๆ

💗 ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย   ผู้ปกครอง และ เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556ของโรงเรียนวัดมเหยงค์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 20 คน 

💗 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย ได้แก่ด้านความสนใจในการอ่านและด้านพฤติกรรมการอ่าน


💗 สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยมีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้น

💗 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1 โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
2 แบบวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
3 แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

💗 สรุปผลการวิจัย
1.ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
2.เด็กปฐมวัยที่ได้ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยมีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

 ▶️  กลุ่มที่ 3  สมาชิก


1. นางสาวรัตนา พงษา   
2.นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร 
3.นางสาวกฤษณา กบขุนทด 
4.นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา          
5.นางสาวประภัสสร แทนด้วง      
6.นางสาวสุดารัตน์ อาสนามิ        



นำเสนอวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การศึกษาระดับ  ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์
ปีที่ทำวิจัย  2540  ผู้วิจัย  นางสาวเจนจิรา คงสุข


💗 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

💗 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ประมวลในการแก้ปัญหา รวมถึงสามารถใช้กระบวนการเรียนรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ต่อการแก้ปัญหาด้านอื่นๆ
2.ช่วยกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กวัยอนุบาลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่นชนบทของตน

💗 ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาล(3-6ปี) ในบ้านหนองกก หมู่ที่4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 จำนวน8คน ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโปรแกรม

💗 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาลด้วยรูปแบบการใช้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ตัวแปรตาม แบบแผนพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล


💗 สมมติฐานการวิจัย
เป็นคำถามที่ใช้แทน
💗 สรุปผลการวิจัย
1.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอมาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
2.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาลด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 ▶️  กลุ่มที่  4  สมาชิก

1.นางสาวรุ่งฤดี    โสดา 
2.นางสาววัชรา   ค้าสุกร  
3.นางสาวเพ็ญประภา  บุญมา   
4.นางสาวจันจิรา   เปลี่ยนเรืองศิลป์
5.นางสาวอรุณวดี   ศรีจันดา
6.นางสาวธิดาพร   สึกชัย    



นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การศึกษาระดับ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ทำวิจัย 2533 
ผู้วิจัย  วรยา กาญจนชาติ




💗 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

💗 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ทราบผลของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาที่แตกต่างกัน
2.เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนเองในการสอนลูกหลานให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆได้ด้วยตนเอง

💗 ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย   ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในเขตพัฒนา อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple Random)จำนวน25คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง2กลุ่ม กลุ่มทดลองที่1 จำนวน14คู่ กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน11คู่

💗 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์ ให้มีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย
วิธีที่ 2 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ตัวแปรตาม ได้แก่การพัฒนาด้านความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์

💗 สมมติฐานการวิจัย
ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง2½ -4 ปีบริบูรณ์ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยวิธีที่ 1และ2แตกต่างกัน
💗 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
2.แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
3.แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
4.แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย

💗 สรุปผลการวิจัย
ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยและเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


ตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง










 ▶️  กลุ่มที่  5 สมาชิก


 1. นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น
2. นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม
  3. นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์
4. นางสาวณัฐชา  บุญทอง
   5. นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้
6. นางสาวปวีณา  พันธ์กุล




นำเสนอวิจัยเรื่อง : การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
การศึกษาระดับปริญญาศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปีที่ทำวิจัย 2556 
ผู้วิจัย บุษยมาศ ผึ้งหลวง




💗 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
2.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

💗 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการ 4 ด้าน คือ 1. ด้านการจัดหมวดหมู่  2. ด้านการเปรียบเทียบ  3. ด้านการรู้ค่าจำนวน 1 -10 
และ 4. ด้านการเรียงลำดับ

💗 ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย   เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปี่ที่ 1 โรงเรียนวัดผึ่งแดด แบบเจาะจง จำนวน 20 คน

💗 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

💗 สมมติฐานการวิจัย
หลังจากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก”
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้น
💗 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด
- แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

💗 สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรักมีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง(ค่าเฉลี่ย=12.90)และหลังทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรักมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี(ค่าเฉลี่ย =30.35)
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น(ค่าเฉลี่ย=17.45)เมื่อพิจารณาผลการทดลองจำแนกรายทักษะพบว่าหลังจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ด้านการจัดหมวดหมู่ด้านการเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน1-10และการเรียงลำดับสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
การจัดหมวดหมู่ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง(ค่าเฉลี่ย=3.50)แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย=7.80)
การเปรียบเทียบ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปรับปรุง(ค่าเฉลี่ย=3.35)แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี(ค่าเฉลี่ย=7.65)
การรู้ค่าจำนวน1-10 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง(ค่าเฉลี่ย=3.35)แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี(ค่าเฉลี่ย =7.55)
การเรียงลำดับ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ระดับความปรับปรุง(ค่าเฉลี่ย=2.70)แต่หลังจากการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี(ค่าเฉลี่ย=7.35)
ตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง


                         


                                 















➤ Assessment การประเมิน
Self-assessment (ตนเอง)
        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ เตรียมงานออกไปนำเสนอ

Evalaute frieads (เพื่อน)
        มีการเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอ ทำเนื้อหาได้ดี น่าฟัง

Evalaute teacher (อาจารย์) 
        อาจารย์ได้ดูและเสนอแนะสิ่งต่างๆให้ในการนำเสนอ หรือการนำตัวอย่างกิจกรรมไปใช้ประโยชน์ และได้มอบหมายงานให้ ทำแผ่นพับให้ความรู้ผู้ปกครอง