วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

➤ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
1. Weekly news  ⇨  ข่าวสารประจำสัปดาห์
2. Newsletter  ⇨  จดหมายข่าว
3. Bulletin board  ⇨  ป้ายนิเทศ   
4. Conversation  ⇨ การสนทนา
5. Exhibition   ⇨  นิทรรศการ                                   
6. Parent Guide  ⇨  คู่มือผู้ปกครอง
7. Meeting   ⇨  การประชุม 
8. booklet   ⇨  จุลสาร              
9. Parents Corner   ⇨  มุมผู้ปกครอง 
10. Parent library  ⇨  ห้องสมุดผู้ปกครอง


♥️♥️  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ♥️♥️



ข่าวสารประจำสัปดาห์
     เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและ
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ประกอบไปด้วย

      -  รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์ กิจกรรม และแผนประจำสัปดาห์
      -  พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
      -  กิจกรรมครอบครัว เช่น  ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
      -  เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง การอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
      - ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น














จดหมายข่าวและกิจกรรม
     จัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี 
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
1. วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
2. วิธีการสนทนากลุ่ม
3. วิธีอภิปรายกลุ่ม
4. วิธีการบรรยาย  

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
       ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”





















ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ





การสนทนา  (เป็นการเข้าถึงตรงมากที่สุด)


มีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
       - เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
       - เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
       - เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน



♥️♥️ รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา ♥️♥️

💗 ห้องสมุดผู้ปกครอง
     

เป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง


💗 ป้ายนิเทศ
    ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้

- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น

💗 นิทรรศการ
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้

          

           - นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
           - นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
            - นิทรรศการเพื่อความบันเทิง  






 💗 มุมผู้ปกครอง
   
  เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
     - เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
     - เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
     - เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

💗 การประชุม
จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
       - เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
       - แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
        - แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
        - ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
        - สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู

- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ

💗 จุลสาร
เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ  - จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
- ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม  - ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
- ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

💗 ระบบอินเทอร์เน็ต


          สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
         - ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา  
         - เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
         - สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก 
         - กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
         - กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
         - คำถามของผู้ปกครอง






สรุป
รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง 
โดยมีข้อคิดทีสำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง 
รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเอง
ต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจ
ที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่
มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

กิจกรรม
    อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม โดยช่วยกันคิดหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยในแบบสอบถาม             ผู้ปกครอง ที่จะนำไปให้ความรู้ผู้ปกครองในการทำโครงการ ทั้งหมด 20 ข้อ  







"คำถามท้ายบท"
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ข่าวสารประจำสัปดาห์ ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เช่น ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก กิจกรรมครอบครัว แผนกิจกรรมประจำสัปดาห์  เป็นต้น
      2. ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นการจัดให้ความรู้หน้าชั้นเรียนกับผู้ปกครอง เช่น วารสาร เกร็ดความรู้ ภาพถ่ายกิจกรรม ผลงานของเด็ก เป็นต้น
         3. การสนทนา (เป็นการเข้าถึงตรงมากที่สุด) ครูกับผู้ปกครองมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทั้งครูและผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติกับเด็กได้ตรงจุดเช่น การประชุมผู้ปกครองในชั้นเรียน การนัดคุยพบปะกัน การเยี่ยมบ้าน เป้นต้น
  4.จดหมายข่าวและกิจกรรม การจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมนิทาน ศิลปะ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

  2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ห้องสมุดผู้ปกครอง  ให้บริการเผยแพร่ความรู้ เช่น ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง 
        2. ป้ายนิเทศ เป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรงเรียน ข่าวสาร และประกาศต่างๆ ในรปแบบภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ เช่น ปรัชญา วารสาร การประชุม การสัมมนา กิจกรรมโรงเรียน
3. นิทรรศการ เป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง เช่น  ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดี เป็นต้น
4.มุมผู้ปกครอง สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เช่น ดูผลงานเด็ก อ่านหนังสือ ดูกิจกรรม
5. การประชุม เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด เช่น แจ้งนโยบายการจัดการศึกษา แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างสถานศึกษา
6. จุลสาร เป็นความรู้ที่จัดทำเป็นเล่ม มีภาพประกอบ เช่น  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด เป็นต้น
7. ระบบอินเทอร์เน็ต ใช้ในการเรียนการสอน และให้ความรู้ผู้ปกครองจัดทำในรูปแบบ              เวิลด์ไวด์เวป (WWW.)  เช่น ข้อมูลโรงเรียน สาระประโยชน์ กิจกรรม คำถามผู้ปกครอง เป็นต้น  

  3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย 
ตอบ ประชาสัมพันธ์หรือส่งจดหมายและข่าวสาร ถึงผู็ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ทราบเกี่ยวกับแผนกิจกรรม หรือปัญหาต่างๆ และนัดพบปะพูดคุยถึงปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

  4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ มีความจำเป็นเพื่อให้พ่อแม่ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี  เลี้ยงดูเด็กให้มีศักยภาพดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

  5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ  การจัดประชุมผู้ปกครอง และการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูกับ
ผู้ปกครอง เป็นการให้ความรู้และแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมมากที่สุด ได้รับสารโดยตรง และสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนได้ดี ในการพัฒนาเด็ก


➤ Assessment การประเมิน
Self-assessment (ตนเอง)
    เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ทำงานที่ได้รับมอบหมาย
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

Evalaute teacher (อาจารย์) 
     อธิบายราบละเอียด มีภาพประกอบ ดูแลนักศึกษาในการทำกิจกรรม เปิดโอกาสให้ถามและตรวจงานให้กับนักศึกษา



วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
1. Book start     โครงการหนังสือเล่มแรก
2. Picture book  ➝  หนังสือภาพ
3. Mother and Child Clinic  ➝  คลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
4. Almoner  ➝  นักสังคมสงเคราะห์
5. Early Childhood Center  ➝  ศูนย์เด็กปฐมวัย
6. Baby Health Center  ➝  ศูนย์สุขภาพเด็ก
7. Correct behavior  ➝  แก้ไขพฤติกรรม
8. Initial health checkup  ➝  การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
9. Parents as Teachers Program  ➝  โครงการพ่อแม่ในฐานะครู
10. Participation of parents  ➝  การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ 



ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับ ให้ความสำคัญกับการ
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน 
โรงเรียน ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน "


โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
1.โครงการแม่สอนลูก
       โครงการที่กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส ให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิด โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านในประเทศอิสราเอล เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
2.โครงการแม่สอนลูก
       ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา 
การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา และบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ วิธีกระบวนการเรียนรู้ วิธีการสนทนากลุ่ม วิธีการอภิปรายกลุ่ม และวิธีการบรรยายกลุ่ม 

3.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
       ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
1.แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
2.คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3.หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
4.ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
5.จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
4.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
      ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด เพื่อการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน ให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด โดยประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ  
1.ผ่านโทรทัศน์  2.ผ่านสื่อวิทยุ  3.สื่อสิ่งพิมพ์ 4.กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

5.โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)
      เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน และประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัว

6.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
      ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน โดยมีกิจกรรมดังนี้
- ให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก 
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
      ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม พร.พระมงกุฎเกล้า ได้เปิด “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์   โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 



✌ โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
       มีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล 
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน  
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
   -สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก เสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
  -จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูก สร้างเกมการเล่นกับลูก
  -ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
        ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก รวมถึงสติปัญญา อารมณ์และสังคม  สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัสดุในครัวเรือนเป็นสื่อ  รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี 
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
         จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนอสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
5.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
        เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1930  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

        
         กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ  1. ความพร้อมที่จะเรียน   2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 



6.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่    มีวัตถุประสงค์ คือ
ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก  ช่วยเหลือการเรียนของเด็ก ติดต่อสื่อสารระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน 
7.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
          พัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย มีวัตถุประสงค์ สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชน
8.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program) 
          เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
9.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
        สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
10.โครงการ Brooklyne Early Childhood
        เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก  ดำเนินการโดย Brooklyne  Public School โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ และยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
11.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
        ให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน  
12.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
        เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
13.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
         โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐมวัย และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสารและนิทรรศการต่างๆ 
14.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
        ให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ เข้าใจพัฒนาการของ เด็กก่อนเกิด /เกิด /ถึง 3ขวบ เช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ การจัดสภาพแวดล้อม การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
15.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
       ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5ปี จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา

16.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
        ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ  เป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและพัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ ถุงบุ๊คสตาร์ท”


ถุงบุ๊คสตาร์ท 


ประกอบด้วย...
1.หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
2.หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
3.ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
4.แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
5.บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
6.รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
7.รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

17.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
        ได้เข้ามาในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุง  บุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว 


สรุป จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 





"คำถามท้ายบท"
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษากับเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กให้มีความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนโดยมีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคม

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ถึงบ้าน ครอบครัวเด็ก 
ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง 

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กมา5เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
ตอบ  1. สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แนะนำสื่อที่เหมาะสมกับช่วงวัยเด็กและได้พัฒนาการหลากหลาย เช่น หุ่น ตุ๊กตา เกมต่างๆ หนังสือเพลง นิทาน เป็นต้น
     2.อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก แนะนำวิธีการทำอาหารเด็กที่ง่ายๆในชีวิตประจำวัน และสามารถดึงดูดเด็กได้ เช่น เมนูอาหารที่เด็กชื่นชอบและมีประโยชน์ ( ข้าวผัดรวมมิตร ข้าวกล่องหรรษา คุ๊กกี้ ไอศกรีมผัก )
          3.การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก วิธีเลือกให้เหมาะสมกับวัย และใช้งานได้นาน ปลอดภัย เช่น ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ ฝึกสมอง ได้แก่ ไม้บล็อก เลโก้ หรือเด็กที่อายุ 1- 2 ขวบ ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ เช่น ของเล่นประเภทดัน ลากจูง และจับทุบตีให้มีเสียงของเล่นระนาดเล็กเสียงใส กลองที่มีเสียงต่างๆ ช่วยให้มีการเชี่ยมโยงสายตา กล้ามเนื้อมือ 
          4.เทคนิคการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย แนะนำการสังเกตุ รับมือ และปรับแก้ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมขี้อาย หรือกลัว 
          5.สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก วิธีดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก เช่น การดูแลครรภ์ การให้นมลูก เป็นต้น

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ส่งผลอย่างมาก เพราะผู้ปกครองจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาเด็กได้อย่างถูกวิธี ส่งเสริมเด็กด้านต่างๆได้ เข้าใจเด็กมากขึ้น และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ติดตามโดยการสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้ปกครอง และจากการประชุมผู้ปกครอง การพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน



➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
    เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

Evalaute frieads (เพื่อน)
     เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

Evalaute teacher (อาจารย์) 
     อาจารย์สอนได้ละเอียด และเปิดตัวอย่าง วิดีโอ ให้ดูประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น