วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 
วันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ


การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


😃 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1.One-Way Communication  การสื่อสารทางเดียว 
2.Two-way Communication   การสื่อสารสองทาง
3.Verbal Communication   การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
4.Non-Verbal Communication  การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา
5.personal Communication  การสื่อสารส่วนบุคคล
6.Intrapersonal Communication  การสื่อสารระหว่างบุคคล
7.Mass Communication   การสื่อสารมวลชน
8.Channel   ช่องทางการส่งสาร
9.Clarity of audience   ความสามารถของผู้รับสาร
10.Clearly   ความชัดเจน 
😃 ความหมายของการสื่อสาร
           การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

 😃 ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
                                                3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
                                                4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
                                                5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

😃 รูปแบบของการสื่อสาร
1. รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
2. รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
ใคร(ผู้ส่งสาร) → กล่าวอะไร(สาร)  ผ่านช่องทางใด(สื่อ)  ถึงใคร(ผู้รับสาร)  เกิดผลอะไร(ผล)

3. รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
         แหล่งสารสนเทศ     ตัวถ่ายทอด   →    สาร  →   ผู้รับสารหรือเครื่องรับ → ผู้รับสารปลายทาง 
แหล่งเสียงรบกวน

4. รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )

5. รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 


😃 องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

😃  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ผู้จัดกับผู้ชม  ผู้พูดกับผู้ฟัง  ผู้ถามกับผู้ตอบ  คนแสดงกับคนดู  นักเขียนกับนักอ่าน  
ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว  คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

😃 สื่อ   ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ
โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

😃 สาร ➤ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี  ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

😃 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ 
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 

😃 ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
1.One-Way Communication  การสื่อสารทางเดียว 
2.Two-way Communication   การสื่อสารสองทาง


  2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก

1.Verbal Communication   การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
2.Non-Verbal Communication  การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา
  3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1.personal Communication  การสื่อสารส่วนบุคคล
2.Intrapersonal Communication  การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.Mass Communication   การสื่อสารมวลชน

😃 อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
2.ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
3.ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
4.ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
5.เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
6.รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
7.ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
8.อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
9.ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น


😃 ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ความพร้อม / ความต้องการ / อารมณ์และการปรับตัว / การจูงใจ / ความถนัด /ทัศนคติและความสนใจ /การเสริมแรง

สรุป  การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร
1.เกมสื่อความหมาย
ใบ้คำโดยการทำท่าทางต่อกันไปเรื่อยๆ โดยไม่ส่งเสียงหรือพูดอะไร นอกจากทำท่าทางอย่างเดียว ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ทีละคน จนถึงคนสุดท้ายให้เพื่อนคนสุดท้ายทายว่าท่าทางที่ทำนั้นคืออะไร
2.เกมทายคำ
ใบ้คำที่เพื่อนถือไว้บนหัวโดยพูดประโยคอะไรก็ได้เพื่อให้ได้คำตอบโดยห้าม  มีคำที่เป็นคำตอบหลุดออกมา ถ้ามีคำใบที่เป็นคำตอบถือว่าคำนั้นไม่ได้
3.เกมพรายกระซิบ
คนแรกอ่านและจดจำประโยคแล้วกระซิบบอกต่อไปยังเพื่อนคนที่ คนที่ 2 ไปคนที่ 3 ส่งต่อไป เรื่อยๆ จนถึงคนสุดท้าย แล้วคนสุดท้ายบอกประโยคที่ได้ยินมาว่าเป็นอะไร
4. เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใครจับกลุ่มให้ได้กลุ่มละ 6 คน โดยเรียงลำดับตามหมายเลย 1-6 คนที่ 1 เขียน ใคร (สมมติมา 1 คนว่าเป็นใคร) คนที่ 2 เขียน (เขียนทำอะไร  กิริยาที่ทำอะไรก็ได้) เขียนตามลำดับหมายเลขจนครบทุกคน แล้วนำประโยคของแต่ละหมายเลขมาอ่านเป็นประโยค



"คำถามท้ายบท"
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
        ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ มีความสำคัญในการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครองควรเป็นรูปแบบใดจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
เพราะเป็นการรับส่งสารโดยผ่านตัวกลางไปยังผู้รับและเกิดผลการตอบสนองกลับที่ชัดเจน 
และมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น พ่อแม่สอนลูกพูด ร้องเพลง เล่านิทาน 

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
         2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
         3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
         4.เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
         5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
         6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
         7.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

ตอบ  1. ความพร้อม 
         2.ความต้องการ 
         3. อารมณ์และการปรับตัว 
         4.การจูงใจ  
         5.ความถนัด 
         6.ทัศนคติและความสนใจ
         7.การเสริมแรง


         
ภาพบรรยากาศในการเรียน




➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมเล่นเกมการสื่อสารแบบต่างๆ ได้ความรู้ และได้ความสนุกสนาน มีทักษาะในการจำที่ดี

Evalaute frieads (เพื่อน)
     มีส่วนร่วมในการเล่นเกม สามัคคีกัน มีความจำที่ดี ช่วยเหลือกัน

Evalaute teacher (อาจารย์) 
      มีกิจกรรมที่หลากหลายให้กับนักศึกษา น่าตื่นเต้น สอดแทรกความรู้ด้านต่างๆมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพฤหัสบดี ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2562
เวลา 12.30 - 15.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

                                 ❤หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย❤
💑คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1.Educational Networking   การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
2.Understanding  การสร้างความเข้าใจ
3.Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4.Parental Involvement  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
5.Role of parent  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
6.Parent education model  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
7.Formal education   การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
8.Informal education   การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ


💑ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     ➤ สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

💑ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง สรุปได้ดังนี้
 1.เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
 2.เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
 3.ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 4.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
 5.ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
💑วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง 
1.เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2.เพื่อให้ความรู้ วิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5.เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
💑รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
        ➤ สรุปได้ว่า มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุก ๆ ด้าน และการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา เช่น การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการปรึกษา เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการทำงาน เสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

    💑แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
 ➤  เพื่อให้ผู้ปกครอง  มีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจักกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมและยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

💑บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
➔บทบาทในฐานะผู้ร่วมกิจกรรม ในสถานศึกษา 
➜บทบาทในฐานะเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน 
➜บทบาทในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

💑แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1.รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2.พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช่เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3.ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง


คำถามท้ายบท
1.การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและมีแนวทางในการพัฒนาเด็กให้ตรงตามวัตถุประสงค์ร่วมกันกับทางโรงเรียน อีกทั้งทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหรือจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับบุตรหลานมากขึ้น 
2.ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง 
จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ  1.การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้านเด็ก  หรือจัดทำ Home School
         2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุมผู้ปกครอง 
         3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community base) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออนไลน์  วิทยุ หรือแจกแผ่นพับ
3.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน เช่นการเยี่ยมบ้านเด็ก ทำให้ครูเข้าถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นจริงของตัวเด็ก 

4.องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ 1. การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
         2. กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย
         3. การปฏิบัติตนของผู็ปกครองในการอยู่ร่วมกับเด็ก เช่น คำพูด กิริยาท่าทาง
         4. การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องหรือมีปัญหาต่างๆ

         
ภาพบรรยากาศในการเรียน





➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาเรียบร้อย
     - จดบันทึกในการเรียน
     - ได้คำแนะนำในการหาวิจัยมาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Evalaute frieads (เพื่อน)
     - เพื่อนๆ เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
    - มีส่วนร่วมในการเรียน และการแบ่งกลุ่มทำงาน
   
Evalaute teacher (อาจารย์) 
     - อาจารย์สอนเนื้อหาอย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น
     - มีบุคลิกภาพที่ดีในการสอน